Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

วางแผนลดหย่อนภาษี 2565 ตอนนี้มีแต่ได้?

Blog

วางแผนลดหย่อนภาษี 2565 ตอนนี้มีแต่ได้? เนื่องจากภาษีเป็นสิ่งที่แน่นอนที่สุดอย่างหนึ่งของชีวิตจนมีคำกล่าวว่า “ภาษีกับความตายคือสองสิ่งที่คนเราหลีกหนีไม่ได้” แต่การวางแผนลดหย่อนภาษีอย่างเหมาะสมจะช่วยให้คุณมีแต่ได้กับได้ คือ ได้จ่ายภาษีน้อยลงและบางคนอาจได้รับเงินคืนกลับมาด้วย

บทความนี้ Plan Your Money จะพาไปทำความรู้จักการวางแผนลดหย่อนภาษีและรวมรายการค่าลดหย่อนภาษี ปี 2565 ที่สามารถใช้สิทธิได้มาให้คุณแล้ว

เริ่มต้นวางแผนลดหย่อนภาษียังไง

เนื่องจากบุคคลที่มีรายได้ทุกคนมีหน้าที่ต้องเสียภาษี ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์เงินเดือนหรือฟรีแลนซ์จำเป็นต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นประจำทุกปี ซึ่งจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีขึ้นอยู่กับรายได้ของแต่ละคน ยิ่งมีรายได้มากก็ต้องจ่ายภาษีมากขึ้นตามไปด้วย การวางแผนภาษีเพื่อการลดหย่อนอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้

ทุกคนสามารถเริ่มวางแผนภาษีล่วงหน้าแบบง่ายๆ ตั้งแต่ต้นปีด้วยการนำรายได้ เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง และโบนัสของปีที่แล้วมาใช้คาดการณ์รายได้ที่อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงในปีนี้ จากนั้นนำมาหักค่าลดหย่อนต่างๆ ที่สามารถใช้สิทธิได้ เพื่อหาเงินได้สุทธิที่จะนำไปคำนวณภาษีแบบขั้นบันได โดยทั่วไปมีสูตรการคำนวณภาษีขั้นพื้นฐาน 2 สูตรที่คุณควรรู้ ได้แก่

1. สูตรคำนวณหาเงินได้สุทธิ เงินได้สุทธิ = รายได้ (ต่อปี) – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน

2. สูตรคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายจากเงินได้สุทธิ ภาษีที่ต้องจ่าย = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี

ศึกษารายละเอียดและวิธีการคำนวณภาษีเพิ่มเติมได้ที่ ภาษีง่ายๆ คำนวณได้ด้วยตัวคุณเอง
หรือถ้าใครไม่ถนัดคิดเลข สามารถใช้เครื่องมือวางแผนภาษี เพื่อความสะดวกรวดเร็วและแม่นยำได้เลย

ค่าลดหย่อนภาษี ปี 2565 มีอะไรบ้าง

การวางแผนลดหย่อนภาษี 2565 อย่างมีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าคุณยังไม่รู้ว่าสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้อย่างไรบ้าง เมื่อรู้วิธีการคำนวณหาอัตราภาษีของปี 2565 ที่คาดการณ์ว่าจะต้องจ่ายในเบื้องต้นแล้ว เรามาดูกันต่อว่ากฎหมายได้เปิดช่องให้ผู้มีเงินได้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีประเภทใดได้บ้าง

1. สิทธิลดหย่อนภาษีประเภทค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลและครอบครัว

  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท ใช้สิทธิได้ทุกคนโดยไม่มีเงื่อนไข
  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท ต้องเป็นคู่สมรสที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย และคู่สมรสต้องไม่มีรายได้
  • ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงให้กับสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชนสูงสุดไม่เกิน 60,000 บาทต่อการตั้งครรภ์หนึ่งครั้ง โดยต้องแนบเอกสารหลักฐาน ได้แก่ ใบเสร็จรับเงินและใบรับรองแพทย์ที่ยืนยันภาวะตั้งครรภ์จากสถานพยาบาลด้วย
    • กรณีที่ตั้งครรภ์สองครั้งในปีเดียวกันจะได้สิทธิลดหย่อนแยกกันครั้งละไม่เกิน 60,000 บาท ส่วนการตั้งครรภ์ลูกแฝดถือเป็นการตั้งครรภ์ครั้งเดียว
    • กรณีที่การฝากครรภ์และคลอดบุตรเกิดขึ้นคนละปี สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละปีภาษี แต่จะลดหย่อนรวมกันได้สูงสุดไม่เกิน 60,000 บาทต่อปี
    • กรณีที่สามีภรรยายื่นภาษีร่วมกัน ให้คนที่ยื่นภาษีหลักเป็นคนใช้สิทธินี้ แต่ถ้าสามีภรรยาแยกกันยื่นภาษี ผู้ที่ใช้สิทธิลดหย่อนในส่วนนี้ต้องเป็นฝ่ายภรรยาเท่านั้น
  • ค่าลดหย่อนบุตร คนละ 30,000 บาท โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
    • ต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมที่มีการจดทะเบียนรับรองบุตรบุญธรรม
    • บุตรต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี หรืออายุไม่เกิน 25 ปีและกำลังศึกษาอยู่ ถ้าอายุเกิน 25 ปีขึ้นไป ต้องมีสถานะเป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
    • ในกรณีเป็นบุตรคนที่ 2 ขึ้นไปและเกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา หักลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
    • บิดามารดามีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 30,000 บาท และอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้
    • ผู้มีเงินได้ต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดา เช่น บิดามารดาจดทะเบียนสมรส หรือบิดาจดทะเบียนรับรองบุตร ส่วนบุตรบุญธรรมไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนนี้
    • กรณีบิดามารดามีบุตรหลายคน ไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนซ้ำซ้อนระหว่างพี่น้องได้ ต้องทำหนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (แบบ ล.ย.03) ระบุว่าบุตรคนใดจะเป็นฝ่ายเลี้ยงดูบิดามารดา เพื่อเป็นหลักฐานในการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี
  • ค่าลดหย่อนอุปการะผู้พิการหรือทุพพลภาพ หักลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
    • ผู้พิการหรือทุพพลภาพจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี
    • กรณีคนพิการต้องมีบัตรประจำตัวผู้พิการ ส่วนคนทุพพลภาพ ต้องมีใบรับรองแพทย์ที่ยืนยันถึงภาวะจำกัดหรือขาดความสามารถอันเนื่องมาจากปัญหาสุขภาพหรือทุพพลภาพ
    • ต้องทำหนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ (แบบ ล.ย.04) เพื่อเป็นหลักฐานในการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี
    • กรณีที่ผู้พิการหรือทุพพลภาพเป็นบิดามารดา บุตร หรือคู่สมรสของผู้มีเงินได้ สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ทั้งสองส่วน เช่น ผู้มีเงินได้มีบุตรเป็นผู้พิการสามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ทั้งค่าลดหย่อนบุตรและค่าลดหย่อนอุปการะผู้พิการ
  • ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย ใช้สิทธิลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
    • ถ้ามีผู้กู้ร่วม สิทธิประโยชน์จะเฉลี่ยตามจำนวนคนที่ร่วมกู้ เช่น สามีภรรยากู้ซื้อบ้านร่วมกัน จ่ายดอกเบี้ยตามจริงไป 100,000 บาท จะสามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าดอกเบี้ยบ้านได้คนละ 50,000 บาท
    • เอกสารที่ต้องใช้ ได้แก่ สำเนาสัญญากู้ยืมเงินและหนังสือรับรองหลักฐานการจ่ายดอกเบี้ยที่อยู่อาศัยจากเจ้าหนี้จำนอง
  • ค่าลดหย่อน “ช้อปดีมีคืน 2565” เป็นโครงการกระตุ้นกำลังซื้อและการบริโภคภายในประเทศของภาครัฐ โดยให้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีภาษี 2565 ด้วย
    • ผู้มีเงินได้สามารถนำใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบจากการซื้อสินค้าหรือบริการที่ตรงตามเงื่อนไขของโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 มาใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)


2. สิทธิลดหย่อนภาษีประเภทการออมและการลงทุน

  • เงินสมทบกองทุนประกันสังคม ใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกินปีละ 9,000 บาท
  • ค่าเบี้ยประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์
    • กรณีผู้มีเงินได้ทำประกันชีวิตแบบทั่วไปให้ตนเองสามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิตจากกรมธรรม์ทุกฉบับรวมทั้งประกันแบบสะสมทรัพย์มาใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
    • กรณีทำประกันชีวิตให้คู่สมรสที่ไม่มีรายได้ สามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรสมาใช้ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
    • กรมธรรม์ประกันชีวิตต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป และต้องทำกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย
    • หากมีการเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปี จะไม่สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้อีกและจะต้องเสียภาษีส่วนต่างพร้อมดอกเบี้ยทางภาษีย้อนหลังเพิ่มเติมด้วย หากในอดีตเคยใช้สิทธิค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตจากกรมธรรม์นั้นไปแล้ว
  • ค่าเบี้ยประกันสุขภาพของตนเอง
    • ใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงแต่สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาทต่อปี
    • เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปและประกันแบบสะสมทรัพย์ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  • ค่าเบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดา
    • ค่าเบี้ยประกันสุขภาพทั้งของบิดามารดาตนเองและบิดามารดาของคู่สมรส (กรณีคู่สมรสไม่มีรายได้) ใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงแต่รวมกันสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาทต่อปี
    • บิดามารดาทั้งของตนเองและของคู่สมรสต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี แต่ไม่จำเป็นต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป
  • ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
    • ใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี หรืออาจลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บาทต่อปี กรณีที่ยังไม่ได้ใช้สิทธิค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป
    • กรณีใช้สิทธิค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปยังไม่ครบ 100,000 บาท สามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญบางส่วนไปหักลดหย่อนในส่วนเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปให้ครบ 100,000 บาทก่อน แล้วค่อยนำส่วนที่เหลือมาหักลดหย่อนตามเงื่อนไขของค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
    • กรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป และต้องทำกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย รวมทั้งมีการจ่ายผลประโยชน์เป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอ

3. สิทธิลดหย่อนภาษีประเภทเงินบริจาค

  • เงินบริจาคทั่วไป ใช้ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนภาษีประเภทอื่นๆ แล้ว
  • เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม และโรงพยาบาลของรัฐ ใช้ลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินที่บริจาคจริง แต่สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนภาษีประเภทอื่นๆ แล้ว
  • เงินบริจาคพรรคการเมือง ใช้ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

สรุป
การวางแผนลดหย่อนภาษีเป็นสิ่งสำคัญ เพราะช่วยให้คุณเตรียมพร้อมในการเสียภาษีได้อย่างถูกต้อง ตรงเวลา ป้องกันปัญหาการชำระภาษีล่าช้าหรือไม่ครบถ้วนซึ่งอาจทำให้ต้องเสียค่าปรับโดยไม่จำเป็น นอกจากนี้ การวางแผนภาษีที่ดียังช่วยให้คุณใช้สิทธิประโยชน์จากค่าลดหย่อนภาษีต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ได้อย่างเต็มที่ ทำให้คุณเสียภาษีน้อยลงหรืออาจได้รับเงินคืนกลับมาใช้ประโยชน์ด้านการลงทุนและวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณได้อีกด้วย